วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การทำงานของ ปอด

ปอด
ปอด เป็นอวัยวะหนึ่งในร่างกายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ใช้ในการหายใจ หน้าที่หลักของปอดก็คือ การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบเลือดในร่างกาย และแลกเปลี่ยนเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบเลือดออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำงานโดยการประกอบกันขึ้นของเซลล์เป็นจำนวนล้านเซลล์ ซึ่งเซลล์ที่ว่านี้มีลักษณะเล็กและบางเรียงตัวประกอบกันเป็นถุงเหมือนลูกโป่ง ซึ่งในถุงลูกโป่งนี้เองที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซต่าง ๆ เกิดขึ้น นอกจากการทำงานแลกเปลี่ยนก๊าซแล้ว ปอดยังทำหน้าที่อื่นๆอีก
       คำว่าปอดในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า lung ในทางการแพทย์สิ่งที่เกี่ยวกับปอดใช้คำว่า pulmonary นำหน้าสิ่งนั้น ๆ ในมนุษย์นั้นมีปอดอยู่ในทรวงอก มีสองข้าง คือขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดที่เป็นถุงบาง ๆ 2 ชั้นนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดชั้นในและ เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะแนบติดไปกับผิวของปอด ส่วนเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกจะแนบติดไปกับช่องทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆนี้จะมีช่องว่าง เรียกว่า ช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีของเหลวคอยหล่อลื่นอยู่ เรียกว่า ของเหลวเยื่อหุ้มปอด ของเหลวนี้จะช่วยให้เยื่อหุ้มปอดแต่ละชั้นสไลด์ไปมาระหว่างกันได้โดยไม่เสียดสีกัน และของเหลวเยื่อหุ้มปอดก็ยังช่วยยึดเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นไว้ไม่ให้แยกจากกันโดยง่าย ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกันด้วย

image
















การทำงานของปอด
การแลกเปลี่ยนก๊าซและการใช้ออกซิเจน เมื่อเราหายใจเข้า อากาศภายนอกเข้าสู่อวัยวะ ของระบบหายใจไปยังถุงลมในปอดที่ผนังของถุงลมมีหลอดเลือดแดงฝอยติดอยู่ ดังนั้นอากาศจึงมีโอกาสใกล้ชิดกับเม็ดเลือดแดงมากออกชิเจนก็จะผ่านผนังนี้เข้าสู่เม็ดเลือดแดง และคาร์บอนไดออกไชด์ก็จะออกจากเม็ดเลือดผ่านผนังออกมาสู่ถุงลม ปกติในอากาศมีออกชิเจนร้อยละ 20 แต่อากาศที่เราหายใจมีออกขิเจนร้อยละ 13













การกำจัดของเสียทางปอด
การกำจัดของเสียทางปอด กำจัดออกมาในรูปของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นผลที่ได้จากกระบวนการหายใจ โดยน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แพร่ออกจากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือดและเลือดจะทำหน้าที่ลำเลียงไปยังปอด แล้วแพร่เข้าสู่ถุงลมที่ปอด หลังจากนั้นจึงเคลื่อนผ่านหลอดลมแล้วออกจากร่างกายทางจมูก ซึ่งเรียกว่ากระบวนการ Metabolism













           หน้าที่ของปอด
    
เมื่อเราหายใจเข้าอากาศจะผ่านเข้าร่างกายทางจมูกหรือปาก ท่อทางเดินหายใจ หลอดลมใหญ่ ซึ่งจะแยกเข้าปอดทั้งซีกซ้ายและซีกขวา และมีหลอดลมเล็ก นำอากาศเข้าสู่ทั่วปอด ในส่วนปลายของหลอดลมเล็กจะมีถุงเล็กๆซึ่งมีจำนวนมาก เรียกว่าถุงลมปอด (รูปที่ 1) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นส่วนแลกเปลี่ยนแก๊สจากกระแสเลือดของร่างกาย โดยดูดซึมเอาแก๊สออกซิเจนเข้าทางกระแสโลหิตและนำไปใช้ทั่วร่างกาย และขับเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียออกจากร่างกาย ดังนั้นการแลกเปลี่ยนแก๊ส จึงเป็นกลไกของระบบหายใจ ซึ่งจะช่วยให้มีภาวะสมดุลกรด-ด่างของร่างกาย










        โรคที่เกี่ยวกับปอด
1.โรคหลอดลมอักเสบ (bronchitis) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเยื่อบุของหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม และมีเสมหะอุดหลอดลม ผู้ป่วยบางรายหลอดลมบวมมากและมีเสมหะมาก ทำให้เกิดลักษณะเหมือนโรคหอบหืด
โรคหลอดลมอักเสบในเด็กเป็นโรคที่พบไม่บ่อย มักพบร่วมกับการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนอื่นด้วย เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ หรือปอดอักเสบ
2.เยื่อหุ้มปอดอักเสบ (pleurisy) เป็นปฏิกิริยาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับเยื่อหุ้มปอดซึ่งมีลักษณะเป็นเยื่อบุสองชั้น ชั้นในบุเนื้อปอด ส่วนชั้นนอกบุผนังทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นเป็นสารน้ำหล่อลื่นปริมาณ 10-20 มิลลิลิตร โดยปกติสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดซึ่งถือว่ามีน้อยมาก จะมีการดูดซึมและทดแทนตลอดเวลาโดยเซลล์บุเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกเป็นหลัก
3.โรคปอดบวมเป็นโรคปอดและระบบทางเดินหายใจซึ่งเกิดจากภาวะถุงลมในปอดเกิดอักเสบและมีของเหลวไหลท่วม โรคปอดบวมอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ โรคปอดบวมอาจเกิดจากการที่ปอดได้รับสารเคมีหรือการกระทบกระเทีอนทางกายภาพได้เช่นกัน

4.โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่เนื้อปอดถูกทำลาย ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก สาเหตุของถุงลมโป่งพอง ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ การสูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังอาจเกิดจาก การสูดดมสิ่งที่เป็นพิษ เช่น มลภาวะ ไอเสีย ฝุ่น สารเคมี เป็นระยะเวลานาน ๆ
 5.โรคหืดหอบเกิดจากการแพ้สารบางอย่าง ซึ่งสารนี้จะไปกระตุ้นประสาทซิมพาเธติค ทำให้กล้ามเนื้อที่หลอดลมเกิดการหดเกร็งอย่างรุนแรง แต่โดยทั่วไปแล้ว โรคหืดหอบเกิดจากร่างกายที่มีความผิดปกติ จึงควรใช้ว่านหางจระเข้ปรับสภาพร่างกายให้ดีขึ้น เสริมเยื่อบุในหลอดลมให้แข็งแรงขึ้น เพื่อป้องกันการกำเริบของโรค
6.วัณโรค คือ โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เล็กมากคือเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ติดต่อโดยการสูดอากาศที่มีตัวเชื้อนี้เข้าไป ซึ่งเชื้อโรคชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความคงทนต่ออากาศแห้ง ความเย็น ความร้อน สารเคมี และอยู่ในอากาศได้นาน ยกเว้นไม่ทนทานต่อแสงแดด คนส่วนใหญ่มักคิดว่าวัณโรคเป็นโรคเกี่ยวกับปอด แต่ความจริงแล้ว เป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย

          สาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคปอด
- การสูบบุหรี่
-
ภูมิแพ้
-
การติดเชื้อทางระบบหายใจ
-
โรคปอดแต่กำเนิด
-
การได้รับยาหรือสารพิษ

    อาการที่เกิดจากปอดทำงานผิดปกติ
- เป็นหวัด เจ็บคอ ปวดศรีษะ
-
ไอมีเสมหะ เหนื่อย หอบ
-
ปวดหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว
-
มีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย
-
น้ำหนักลด ไม่มีแรง
-
รูปร่างลักษณะของหน้าอกเปลี่ยนไป
-
หายใจมีเสียง
     

      ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโรคปอด
-
นอนพักมากๆ
-
ดื่มน้ำมากๆ งดน้ำหรืออาหารที่เย็น
-
สวมเสื้อผ้าให้หนาพอเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
-
รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
-
งดการสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด และไม่ควรอยู่ใกล้คนสูบบุหรี่
-
หลีกเลี่ยงสถานที่ที่อากาศเป็นพิษ และแออัด
-
รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์ โดยรับประทานอาหารให้เพียงพอ ออกกำลังกายที่ทำแล้วไม่หอบ เช่น เดิน อย่างสม่ำเสมอ
-
เมื่อเป็นหวัด หรือไอมากขึ้น มีเสมหะเขียวเหลืองมีอาการเหนื่อยมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ
-
ควรฝึกการหายใจโดยบริหารปอด จะทำให้โอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนมีน้อยลง
          

          
           การรักษาผู้ป่วยโรคปอด
    
การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบ ซึ่งจะเป็นการใช้ยาควบคุมสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปอด เช่น งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่นละอองมาก นอกจากนี้อาจต้องใช้การบำบัดรักษาทางระบบหายใจ ซึ่งประกอบด้วย
-
การบำบัดรักษาด้วยความชื้นและฝอยละออง
-
การระบายเสมหะ โดยการเคาะและการสั่นสะเทือน
-
การฝึกหัดการไอให้มีประสิทธิภาพ
-
การดูดเสมหะ
-
การฝึกบริหารการหายใจด้วยวิธีต่างๆ
สำหรับในรายที่เป็นมากอยู่ในขั้นสุดท้าย ไม่สามารถจะรักษาด้วยยาและการผ่าตัด อาจต้องปลูกถ่ายปอด ซึ่งเป็นการรักษาที่ได้ผลดี
            



      การปลูกถ่ายปอด
    เป็นการเอาปอดใหม่ที่ดีกว่ามาใส่ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดระยะสุดท้าย หรือโรคปอดระยะสุดท้ายที่เกิดจากปัญหาหัวใจ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือมักมีชีวิตอยู่ไม่เกิน 6-12 เดือน ผลของปอดที่นำมาเปลี่ยนภายใน 1 ปี จะทำงานได้ดีถึงร้อยละ 75













บรรณานุกรม

www.wikipedia.org/wiki
www.bangkokhealth.com
www.thaigoodview.com